กลุ่มประเทศโอเปก หรือ “องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก” (OPEC) ได้ประกาศยกเลิกนัดการประชุมที่กำหนดไว้เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเหมือนเป็นการปฏิเสธข้อเรียกร้องของนานาชาติที่ต้องการให้กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพิ่มกำลังของการผลิต
เพื่อทำการตอบสนองตรงต่อความต้องการในระบบของตลาดโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกดีดตัวสูงขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2018 เลยทีเดียว
กลุ่มประเทศโอเปก ไม่สามารถโน้มน้าวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ให้เพิ่มกำลังผลิตได้

กลุ่มประเทศโอเปก ได้ยกเลิกนัดการประชุมหาเรื่องเรื่องการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีกระแสข่าวว่า ซาอุดีอาระเบีย ที่เป็นผู้นำกลุ่มโอเปก ไม่สามารถโน้มน้าวเพื่อนรักอย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ปกติมักจะยกมือสนับสนุนการตัดสินใจของซาอุดีอาระเบีย ให้ลงนามในสัญญาว่าด้วยการเพิ่มกำลังผลิตน้ำมันดิบเพื่อกดราคาน้ำมันทั่วโลกได้ เนื่องจากทางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่พอใจจำนวนโควต้าการผลิตที่ตัวเองได้รับ

โดยทางด้าน นาย “ซูฮาอิล อัล มาซรูเอ” (Suhail Al Mazrouei) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เปิดเผยว่า สัญญาฉบับดังกล่าวไม่เป็นธรรมต่อสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพราะให้โควต้าการผลิตน้ำมันแค่ 2 ใน 3 ของกำลังผลิตในประเทศเท่านั้น แต่ประเทศอื่นใน กลุ่มประเทศโอเปก กลับสามารถผลิตได้เต็มกำลัง

ทั้งนี้ ความล้มเหลวในการเจรจาเพิ่มกำลังผลิตน้ำมันดิบของ กลุ่มประเทศโอเปก ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดซื้อ-ขายตัวของน้ำมันดิบกันล่วงหน้า หรือ “เบรนท์” (BRENT) ปรับตัวเพิ่มขั้นมาทันที 1% อยู่ที่ 77 ดอลลาร์ต่อบาร์เบล (ประมาณ 20.73 บาทต่อลิตร) ถือเป็นราคาสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2018 เลยทีเดียว
ส่วนสาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างกะทันหัน ก็เพราะสถานการณ์การระบาดเชื้อโควิด-19 ในหลายประเทศกำลังมีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมมากขึ้น ทำให้รัฐบาลหลายประเทศเริ่มผ่านคลายมาตรการควบคุมโรคและอนุญาตให้เดินทางได้ตามปกติแล้วนั่นเอง ส่งผลให้ความต้องการน้ำมันในตลาดทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เลยทีเดียว
ติดตาม ข่าววันใหม่ อับเดทข่าวใหม่ๆที่คัดสรรมาให้คุณได้รับรุ้ข่าวสาร สาระดีๆทั้งข่าวในประเทศและต่างประเทศ